0

ทำไมทุกคนจึงต้องเสริมด้วยวิตามินดี? (ตอนที่ 3)

English Version Below

วิตามินดีช่วยลดภาวะอักเสบ

อินเตอร์ลูคิน-6 (Interleukin-6: IL-6) สารตัวนี้หลั่งออกมาจากเม็ดเลือดขาว เป็นการตอบสนองต่อภาวะการอักเสบของร่างกาย พบความเกี่ยวข้องระหว่างสารตัวนี้สูงกับโรคหลายโรค โดยเฉพาะ โรคมะเร็ง และในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ก็จะพบสารอักเสบตัวนี้สูงด้วยเช่นกัน

ได้มีการศึกษาทดลอง เรื่องการลดสารอักเสบIL-6 โดยการรับประทานวิตามินดีในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน โดยทำการศึกษาในผู้หญิงอ้วนวัยทอง จำนวน 218 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุมแรกได้รับการลดน้ำหนัก บวกกับการรับประทานยาหลอก กลุ่มที่สอง ได้รับการลดน้ำหนัก บวกกับการรับประทานวิตามินดี 2000 IU ทุกวัน ผลที่ได้คือ ทั้งสองกลุ่มมีน้ำหนักที่ลดลง 5% – 10% เช่นเดียวกัน แต่การตรวจหาสารอักเสบIL-6 พบว่า กลุ่มที่รับประทานวิตามินดี มีค่าการอักเสบIL-6 ในร่างกายลดลงมากถึง37.3% ในขณะที่กลุ่มได้รับยาหลอก มีค่าการอักเสบIL-6 ลดลงเพียง 17.2%

วิตามินดีช่วยลดอาการทางจิต

การศึกษาพบว่า วิตามินดีมีบทบาทสำคัญต่อการตั้งครรภ์ ซึ่งสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคทางจิต เช่น โรคสมาธิสั้น(ADHD) และโรคจิตเภท (Schizophrenia)

ตัวรับวิตามินดีเกิดขึ้นในก้านสองของตัวอ่อนทารกในระหว่างตั้งครรภ์ของหนู จึงเป็นข้อบ่งชี้ว่า วิตามินดีมีความสำคัญต่อพัฒนาการการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ และพบว่า เมื่อหญิงตั้งครรภ์ที่ขาดวิตามินดี จะทำให้เกิดการเจริญเติบโตของทารกช้า

โรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactive Disorder: ADHD) ได้ทำการศึกษาระดับวิตามินดีในหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 1,650 คน พบว่า หญิงตั้งครรภ์ที่มีระดับวิตามินดีสูงขึ้นทุกๆ 10 ng/mL มีความเสี่ยงต่อการให้กำเนิดบุตรที่มีภาวะสามาธิสั้นน้อยกว่า 11% แต่อย่างไรก็ตาม การรับวิตามินดีในปริมาณสูงที่เพียงพอในระดับที่ต้องการ ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์

โรคจิตเภท (Schizophrenia) คือ กลุ่มอาการของโรคที่มีความผิดปกติของความคิด ทำให้ผู้ป่วยมีความคิดและการรับรู้ไม่ตรงกับความเป็นจริง เชื่อว่าเกิดจากความไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง สารเคมีนี้คือ โดปามีน(dopamine) ได้มีการศึกษาในหนู พบว่า ตัวรับวิตามินดีในก้านสมองของระยะตัวอ่อนในครรภ์ มีความเกี่ยวข้องกับการเพิ่มสูงขึ้นของโดปามีน ซึ่งสรุปได้ว่า ภาวะขาดวิตามินดีส่งผลทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคจิตเภท

อีกการศึกษาหนึ่ง ได้ทำการศึกษาระดับวิตามินดีในกลุ่มทดลอง 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่หนึ่ง จำนวน 40 คน เป็นโรคจิตเภทในระยะอาการกำเริบ กลุ่มที่สอง จำนวน 41 คน เป็นโรคจิตเภทในระยะอาการสงบ และกลุ่มที่สาม จำนวน 40 คน เป็นผู้มีสุขภาพดี ผลการตรวจค่าวิตามินดี พบว่า กลุ่มผู้เป็นโรคจิตเภทในระยะอาการกำเริบ มีค่าวิตามินดีอยู่ในระดับต่ำมาก เมื่อเทียบกับกลุ่มโรคจิตเภทในระยะอาการสงบ และกลุ่มผู้มีสุขภาพดี มีค่าระดับวิตามินดีสูงที่สุด
โดยสรุปแล้ว เรารู้จักมาเป็นสิบๆปีแล้วว่า วิตามินดีช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง และรับรู้ภายหลังว่าวิตามินดีมีส่วนสำคัญต่อทุกส่วนของร่างกาย และสามารถป้องกันการเกิดโรคจากความเสื่อมทั้งหลาย เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือสมอง เป็นต้น แต่ทุกวันนี้กลับพบว่า ผู้คนส่วนใหญ่ได้รับวิตามินดีไม่เพียงพอ สาเหตุอาจมาจาก อาหารเสริมหรือวิตามินที่วางขายตามท้องตลาดทั่วไป มีวิตามินดีในปริมาณน้อย ประมาณ 400-600 IU เท่านั้น หรือประชากรที่อาศัยอยู่ในประเทศหนาวที่ได้รับแสงแดดน้อย ก็จะทำให้ขาดวิตามินดีได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งจริงๆแล้ว วิตามินดีเป็นวิตามินที่มีราคาไม่แพงมากนัก และยังสามารถช่วยป้องกันโรคได้ จึงเป็นวิตามินที่ทุกคนควรจะได้รับอย่างเพียงพอ ปริมาณที่แนะนำต่อวัน คือ Vitamin D3 5,000-8,000 IU และควรรับประทานพร้อมอาหารเพื่อเพิ่มการดูดซึม และควรตรวจเลือดประจำปีเพื่อหาระดับวิตามินดีว่าเพียงพอต่อร่างกายหรือไม่

vitamin-D

Vitamin D Lowers Inflammatory Biomarkers

Interleukin-6 (IL-6) is an inflammatory cytokine. At high levels, this cytokine has been linked with several types of
cancers.41 Overweight individuals have much higher rates of inflammatory cytokines like interleukin-6.42
A compelling study documented marked reductions of interleukin-6 when vitamin D is combined with weight loss. The
study involved 218 overweight postmenopausal women who were divided into two groups. Both groups had weight loss
interventions, but one group was given 2,000 IU per day of oral vitamin D3.

Both groups achieved a 5% to 10% weight loss, but the group that received the vitamin D supplement showed an
impressive 37.3% reduction in interleukin-6 levels compared to the placebo which only had a 17.2% reduction.43

Psychiatric Disorders

Interesting research is showing higher levels of vitamin D play an important role during pregnancy for preventing many
different psychiatric disorders. The vitamin D receptor emerges in the brain stem through the embryonic development of rats. This indicates and reinforces the idea that vitamin D is important for gestational development.46,47 Additional studies have shown that vitamin D deficiency in the mother can lead to impaired growth of the fetus.48

Attention Deficit Hyperactive Disorder (ADHD)

A fascinating study analyzing vitamin D blood levels in 1,650 mothers showed that for each 10 ng/mL increment in vitamin
D levels, their children had 11% less ADHD-like symptoms. This type of research has heavily influenced the demand for prenatal vitamins. However, most multivitamins only contain a fraction of the vitamin D that is needed to be therapeutic. The trivial amount of vitamin D in most prenatal vitamins is not enough to raise a vitamin D level by 10 ng/mL.1,2

Schizophrenia

An imbalance of dopamine has been hypothesized to be a cause of schizophrenia. The vitamin D receptor emerges in the
brain stem at the same time as the peak period of dopamine cell birth in rat embryos. There has been a high correlation between vitamin D deficiency and schizophrenia. The correlation has influenced a study to show if vitamin D deficiency was prevalent in those having an acute episode.

The study subjects were divided into three groups: 40 patients who were reported to be having an acute episode, 41 patients
in remission, and 40 healthy controls. Those who reported to be having an onset of schizophrenic episodes had far lower levels of vitamin D compared to schizophrenics in remission. The healthy controls had the highest levels of vitamin D.

Ignored Age-Related Panacea

Life Extension® has been writing about the health benefits of vitamin D for many decades. Fortunately, researchers are
finally catching up with these findings and devoting resources to discovering and documenting new applications of vitamin
D. What might be surprising is that the new research discussed in this article was released just within this last year.
There is an immense archive of literature documenting the health benefits of this single vitamin. Every day, more research
findings are being published. In fact, by the time this article is published, there will be even more noteworthy studies
released.

Current medical teachings need to be updated to include evidence that vitamin D provides support to not just bone health,
but also to reducing all-cause mortality through its system-wide benefits. Vitamin D is the only vitamin that has receptors
for it located on every cell. With the cumulative and consistent evidence backing its efficacy, this vitamin should be an
essential part of everyone’s daily health regimen.

The cost of conventional treatment for age-related diseases is staggering and Medicare is on the hook for a huge unfunded
liability. People today have an unprecedented opportunity to reduce their risk of needing conventional treatment using a low-cost
vitamin supplement. The typical dose range is 5,000 to 8,000 IU of vitamin D3 daily taken with a meal for better absorption.
Annual blood tests can enable one to know if they are taking the proper dose of vitamin D they need to achieve optimal
levels of 25-hydroxyvitamin D.

Summary

While the use of vitamin D has increased dramatically, levels in common commercial multivitamins (400 to 600 IUs) are still
far too low to provide real-world benefits. Extensive research has demonstrated that higher vitamin D blood levels are associated with reduced mortality risk and specific diseases such as diabetes, stroke, and multiple sclerosis, along with other autoimmune diseases and psychological disorders. Vitamin D dosing in the range of 5,000 to 8,000 IU each day should be taken with a meal for better absorption.

ข้อมูลจาก: Life Extension Magazine January 2016

ขอขอบคุณผู้แปล: คุณวิลาสินี บุดดาคะ

0

ทำไมทุกคนจึงต้องเสริมด้วยวิตามินดี? (ตอนที่ 2)

English Version Below

วิตามินดีช่วยป้องกันโรคเบาหวาน

ในตับอ่อนมีเซลล์ชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่ผลิตออร์โมนอินซูลิน คือ เบต้าเซลล์ ซึ่งอินซูลินนี้ทำหน้าที่สำคัญในการนำน้ำตาลเข้าเซลล์เพื่อผลิตเป็นพลังงานให้กับร่างกาย แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เบต้าเซลล์ในตับอ่อนตายหรือไม่ทำงาน ก็จะทำให้หยุดการผลิตอินซูลินนี้ออกมา น้ำตาลที่อยู่ในกระแสเลือดก็จะเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากไม่มีอินซูลินมาจับน้ำตาลเข้าเซลล์ไปใช้ต่อ ผลคือ ทำให้กลายเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งเมื่อเป็นโรคเบาหวานแล้ว มักจะเกิดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานตามมา เช่น โรคหัวใจ อัลไซเมอร์ หรือแม้กระทั่ง โรคมะเร็ง

มีการศึกษาพบว่าในเบต้าเซลล์มีตัวรับวิตามินดี ที่มาทำหน้าที่ช่วยให้เบต้าเซลล์มีการทำงานดีขึ้น และสามารถผลิตอินซูลินได้ดีขึ้น นอกจากนี้ วิตามินดี ยังส่งผลต่อเซลล์เกือบทั่วร่างกาย โดยเฉพาะการเสริมภูมิต้านทานให้กับร่างกายในการต่อสู้กับโรคต่างๆนั่นเอง

 

วิตามินดีเกี่ยวข้องกับโรคปลอกประสาทอักเสบ

โรคมัลติเพิล สเคลอโรซิส (multiple sclerosis) หรือโรคเอ็มเอส (MS) ชื่อภาษาไทยเรียกว่า โรคปลอกประสาทอักเสบ เป็นโรคที่จัดอยู่ในกลุ่มของโรค “ออโตอิมมูน”(autoimmune disease) คือโรคที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำลายเซลล์ตัวเอง โดยเซลล์เม็ดเลือดขาว จำพวก ที ลิมโฟไซท์(T lymphocytes), บี ลิมโฟไซท์(B lymphocytes) และแมคโครฟาจ (macrophages) ที่ทำหน้าที่คอยดักจับเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในกระแสเลือด จะเข้าไปทำลายปลอกประสาท (myelin sheath) ในระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งได้แก่ สมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทตา เพราะคิดว่าเป็นเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม

จากข้อมูลทางภูมิศาสตร์พบว่า โรคเอ็มเอสเกิดขึ้นได้บ่อยในเขตละติจูดสูง โดยประชากรที่อาศัยอยู่ทางเหนือของอเมริกา มีโอกาสเป็นโรคเอ็มเอส เพิ่มเป็น 2 เท่า ขณะที่ชาวแคนาดา มีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นเป็น 5 เท่าเมื่อเทียบกับประชากรที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของอเมริกา ซึ่งสาเหตุนี้ ทำให้นักวิจัยเชื่อว่า โรคเอ็มเอส เกี่ยวข้องกับการขาดวิตามินดี เนื่องจากประชากรที่อาศัยที่แถบบริเวณอากาศหนาว ซึ่งมักจะสัมผัสกับแสงแดดน้อยกว่า ส่งผลให้ร่างกายสร้างวิตามินดีได้น้อยลงด้วยเช่นกัน

มีการศึกษาถึง สนิปส์ (SNPs: Single nucleotide polymorphisms) หมายถึง ความแตกต่างหรือความหลากหลายทางพันธุกรรมระหว่างคนแต่ละคนที่เกิดจากความแตกต่างของหน่วยย่อยที่สุดของ DNA (นิวคลีโอไทด์)เพียงตำแหน่งเดียว มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะขาดวิตามินดี โดยทำศึกษาในผู้ป่วยโรคเอ็มเอส จำนวน 14,498 คน และกลุ่มผู้มีสุขภาพดี จำนวน 24,091 คน พบว่า SNPs ที่ทำให้วิตามินดีต่ำจะถูกถ่ายทอดทางพันธุกรรมและส่งผลทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเอ็มเอส ซึ่งข้อมูลนี้ทำให้นักวิจัยได้ไปทำการศึกษาต่อ เพื่อหาระดับวิตามินดีในผู้ป่วยโรคเอ็มเอส พบว่า มากกว่า 90% ของผู้ป่วยโรคเอ็มเอส มีภาวะขาดวิตามินดีด้วย ซึ่งมีค่าในเลือดต่ำกว่า 20 ng/mL

d

Support for Diabetics

Beta cells are insulin-producing cells in the pancreas. When the beta cells die, people become insulin-dependent diabetics. Without insulin, there is nothing to deliver glucose into cells for energy production. This leads to high circulating glucose blood levels that contribute to a long list of deadly disorders that include heart disease,30 Alzheimer’s, 31 and cancer.3

Vitamin D has been documented to prevent high glucose-induced beta cell apoptosis (death). This is because beta cells contain active receptors for vitamin D, just like every other cell in the body

A Link between Vitamin D and Multiple Sclerosis

It is well known that there are higher rates of vitamin D deficiency in colder climates of the world due to the lack of sun. This has caused a greater chance of having an immune system-related illness. Multiple sclerosis (MS) is an autoimmune disease caused when the body’s own T lymphocytes, B lymphocytes, and macrophages attack the myelin sheath of neurons. Those living in the northern part of the United States are twice as likely to develop multiple sclerosis, and those in Canada have a 5-times greater risk compared to people residing in the southern US. This geographical data, along with a multitude of studies that explain the mechanisms and causation, has led many researchers to believe that MS is heavily influenced by vitamin D deficiency.

A study published by PLOS Medicine identified single nucleotide polymorphisms that were strongly associated with lower 25-hydroxyvitamin D levels. The researchers studied the odds of MS on those with genetically lower vitamin D levels from the International Multiple Sclerosis Consortium study. Considered the largest genetic association study to date for MS, it included 14,498 subjects with MS and 24,091 healthy controls. The authors concluded that genetically lowered vitamin D levels were strongly associated with an increased risk for MS.

This new data heavily reinforces the statistics and research on vitamin D for MS. Trials show that more than 90% of people with MS have deficient vitamin D.39 Deficient is defined at a level below 20 ng/mL. Vitamin D can even mediate the direct effects of the immune cells that attack the myelin sheath, a hallmark pathological mechanism of MS.

When these aggressive immune cells were extracted from MS patients and exposed to vitamin D, their division was slowed. This signifies the imposing control vitamin D can have on autoimmune diseases such as MS

ข้อมูลจาก: Life Extension Magazine January 2016

ขอขอบคุณผู้แปล: คุณวิลาสินี บุดดาคะ

 

0

ทำไมทุกคนจึงต้องเสริมด้วยวิตามินดี? (ตอนที่ 1)

English Version Below

ผลิตภัณฑ์วิตามินรวมของหลายๆบริษัท ยังคงมีปริมาณวิตามินดีไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายที่จะสามารถใช้ในการช่วยป้องกันการเกิดโรคต่างๆได้ ซึ่งในวิตามินที่วางขายตามท้องตลาดทั่วไป มีปริมาณวิตามินดี เพียง 400-600 IU ซึ่งเป็นปริมาณที่น้อย ซึ่งจากหลักฐานทางคลินิกพบว่า ผู้ที่มีระดับวิตามินดีในเลือดสูง สามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้ จึงเป็นเรื่องที่ควรตระหนักถึงการได้รับวิตามินดีในปริมาณที่มากพอเพื่อที่จะสามารถป้องกันโรคได้ เช่น โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือด และโรคอักเสบเรื้อรัง ซึ่งควรมีระดับวิตามินดีในเลือด 50-80 ng/mL

เป็นที่ทราบกันอย่างยาวนานว่า ภาวะขาดวิตามินดีทำให้เกิดโรคกระดูกบาง กระดูกพรุน ทั้งในตำราเรียน การเรียนการสอนของแพทย์ จึงทำให้แพทย์มุ่งเน้นการรักษาวิตามินดีเพื่อลดภาวะกระดูกพรุนเท่านั้น แต่ในปัจจุบันพบว่า วิตามินดีเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคต่างๆได้มากมายหลายระบบ ซึ่งจะกล่าวต่อไปในบทความนี้ถึงประโยชน์และการป้องกันโรคของวิตามินดี

วิตามินดีช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย

ผลการศึกษาในรายงานของประเทศอังกฤษพบว่า วิตามินดีสามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยหนักไอซียู ซึ่งได้รายงานในปี 2009 ว่า ผู้ป่วยไอซียูที่มีภาวะขาดวิตามินดี มีอัตราการเสียชีวิตสูงเป็น 45% เมื่อเทียบกับผู้ป่วยไอซียูที่ไม่ขาดวิตามินดี ซึ่งมีอัตราการเสียชีวิต เพียง 16% ซึ่งชี้ให้เห็นว่า มีอัตราการเสียชีวิตสูงมากกว่าถึง 3 เท่า

และล่าสุดจากรายงานในปี 2015 ได้มีการศึกษา เรื่องวิตามินดีสามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยหนักไอซียูได้หรือไม่เช่นเดีนยวกับที่มีการศึกษาก่อนหน้านี้ในปี 2009 ซึ่งผลที่ได้มีลักษณะเดียวกัน โดยทำการศึกษาในผู้ป่วยไอซียู จำนวน 135 คน พบว่า อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่มีระดับวิตามินดีในเลือดต่ำกว่า 12 ng/mL เป็น 32.2% ซึ่งเมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่มีระดับวิตามินดีสูงกว่า มีอัตราการเสียชีวิตเพียง 13.2% จึงแสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยที่มีภาวะขาดวิตามินดีมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าถึง 2.4 เท่า

แต่ทั้งนี้ การให้วิตามินดีปริมาณโดสสูงๆ กับผู้ป่วยไอซียู ไม่ได้หมายความว่า จะทำให้ผู้ป่วยกลับฟื้นคืนมาหายเป็นปกติ แต่การศึกษานี้หมายถึงว่า การที่ผู้ป่วยที่มีระดับวิตามินดีในร่างกายที่สูงอยู่แล้ว เมื่อเกิดอาการป่วยถึงขั้นเข้ารับการรักษาที่ไอซียู จะทำให้ผู้ป่วยมีอัตราการหายและการฟื้นตัวกลับมาได้ดีกว่าผู้ป่วยที่มีระดับวิตามินดีต่ำ

วิตามินดีช่วยรักษาอาการโรคหลอดเลือดสมองให้ดีขึ้น

โรคหลอดเลือดสมอง(stroke) เป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตนเองในการดำเนินชีวิตได้ ในประเทศอเมริกา มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมากถึง 6.8 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 2.8% ของประชากรในผู้ใหญ่ และเมื่อเป็นโรคหลอดเลือดในสมองแล้ว ผู้ป่วย 40% จะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือตนเองได้น้อย และอีก 15% จะเสียชีวิตทันที

เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการศึกษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกับภาวะขาดวิตามินดี พบว่า ภาวะขาดวิตามินดีในเลือดลดลงทุก 10 ng/mL ทำให้อาการโรคหลอดเลือดสมองที่เกิดขึ้นแย่ลงเพิ่มสูงเป็นสองเท่า ซึ่งจากการศึกษาผู้ป่วยที่มีระดับวิตามินดีต่ำกว่า 20 ng/mL ทำให้กลายเป็นโรคอัมพาต อัมพฤกษ์ ไม่สามารถช่วยเหลือตนเอง สูงกว่าผู้ป่วยที่มีระดับวิตามินดีในเลือดมากกว่า 50 ng/mL

ได้มีการศึกษาเพิ่มเติมมากขึ้นเรื่อยๆ และล่าสุด ได้ทำการศึกษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 818 คน พบผลที่ใกล้เคียงกันคือ ผู้ป่วยที่มีระดับวิตามินดี 30 ng/mL มีการฟื้นฟูอาการได้ดีกว่าผู้ป่วยที่มีระดับวิตามินดีต่ำกว่า 10 ng/mL สูงถึง 90%

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า เราควรมีระดับวิตามินดีในเลือดอยู่ระหว่าง 50-80 ng/mL เพื่อที่จะสามารถป้องกันโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายทั้งหลายได้ และที่สำคัญคือ วิตามินดีช่วยป้องกันการเกิดความผิดปกติของหลอดเลือดในร่างกาย จึงสามารถทำให้ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ด้วยเช่นกัน

12647190_648687931900870_6295168979135398460_n

Why Isn’t Everyone Supplementing with Vitamin D?
By Chancellor Faloon
Popular multivitamin supplements still don’t provide enough vitamin D to yield optimal health benefits. Most commercial multivitamins contain 400 to 600 IU of vitamin D, a potency that provides little real-world benefit.

With evidence showing reduced mortality in those with higher vitamin D blood levels, an urgent need exists to alert the public about the importance of taking the proper dose of this low-cost vitamin. Failure to properly supplement contributes to a host of premature illnesses along with increased national health care costs.

Compelling research has demonstrated that vitamin D blood levels in the range of 50 to 80 ng/mL are associated with reduced mortality and a lower risk of common diseases.1,2
A considerable volume of published literature documents a connection of insufficient or deficient 25-hydroxyvitamin D blood levels3 with higher risks of cancer,4-6 vascular disease,7-10 and chronic inflammation .11-13 Low vitamin D status has long been associated with loss of bone density. This limited view of vitamin D’s biological effects
is still taught in many medical textbooks, leading some doctors to view vitamin D only for its value in reducing osteoporosis risk.

Yet vitamin D has clinical applications for a vast array of health conditions. This article reviews some recent findings that reveal an even wider range of protective benefits conferred by this readily available dietary supplement.

Reduced Mortality in Hospital Patients
Some of the most impressive research discovered on vitamin D has been on ICU (intensive care unit) patients. The New England Journal of Medicine first reported in 2009 a striking 45% mortality (death) rate in vitamin D-deficient ICU patients compared to only a 16% mortality rate in sufficient vitamin D patients. This study showed that vitamin D
deficiency results in almost 3-times more patients dying in the ICU.14 Vitamin D deficiency is an all-cause mortality risk factor and since the publication of this study in 2009, there has been even more data released to substantiate this claim.

A fascinating study reported in 2015 showed very similar results to the aforementioned study. This study entailing 135 ICU patients revealed a 32.2% risk of mortality when vitamin D levels were below 12 ng/mL compared to a 13.2% risk of mortality if levels were greater. This finding shows that vitamin D deficient patients die at a 2.4-fold greater rate.
Not all studies of seriously ill patients in the intensive care units (ICU) show lifesaving effects of vitamin D. Giving ICU patients large doses of vitamin D has not consistently reversed their life-threatening conditions.19 This indicates that to benefit from the life-protective effects of vitamin D, higher blood levels should be maintained on a constant basis.

Overall, patients armed with higher levels of vitamin D before they enter ICU show better clinical outcomes than those who do
not.

Post Stroke Functional Outcome

Stroke is the leading cause of serious long-term disability. An estimated 6.8 million
Americans (2.8% of the entire adult population) are living after having had a stroke.
When a stroke occurs, 40% of its victims experience moderate to severe debilitation requiring special care, and 15% die shortly thereafter. Vitamin D deficiency is pervasive among stroke victims, and those with the lowest levels of vitamin D have been shown to have the poorest functional outcomes. In fact, a recent study showed that for each 10 ng/mL decrement in vitamin D, the odds of a poor 90-day post stroke functional outcome
doubled.

To put this in perspective, those who don’t supplement with high doses of vitamin D typically have 25-hydroxyvitamin D levels under 20 ng/mL. Those who properly supplement should strive to obtain levels of 25-hydroxyvitamin D over 50 ng/mL.

Based on this study’s findings, people with these higher vitamin D levels would be far more likely to avoid permanent institutional confinement if they suffered an ischemic stroke. Another recent study involving 818 stroke patients showed very similar results. Those with an adequate vitamin D level of 30 ng/mL or above showed a 90% better improvement in functional outcomes compared to those who were severely deficient (<10 ng/mL ).

Experts believe that in order to prevent many of the age-related diseases, people should maintain a vitamin D blood level between 50 to 80 ng/mL. These stroke studies are showing robust improvement in functional outcome with just a sufficient vitamin D blood level. Based on the number of studies showing vascular protective benefits of vitamin D, those who maintain optimal vitamin D levels, along with comprehensive blood testing to correct other risk factors, will likely decrease their stroke risk and reduce the odds of permanent disability in the event one of their cerebral arteries becomes occluded (ischemic stroke)

ข้อมูลจาก: Life Extension Magazine January 2016

ขอขอบคุณผู้แปล: คุณวิลาสินี บุดดาคะ